วรุณามีแพลตฟอร์ม
VLMP ติดตามสุขภาพ
และคาดการณ์ปริมาณผลผลิตอ้อย

Varuna มีแพลตฟอร์ม VLMP ติดตามสุขภาพ
และคาดการณ์ปริมาณผลผลิตอ้อย

ภาคเกษตรกรรมของไทยจำเป็นต้องเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกให้ดีขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการด้านอาหารของโลกที่เพิ่มขึ้น

เทคโนโลยีจึงเข้ามามีบทบาทช่วยการทำงานและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทย Varuna ผู้นำการใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะ มีแพลตฟอร์ม VLMP ติดตามสุขภาพและคาดการณ์ปริมาณผลผลิตอ้อย เพื่อให้กลุ่ม Smart Farmer นำเทคโนโลยีมาปรับใช้กับพื้นที่เพาะปลูกเพื่อลดข้อจำกัดในด้านต่างๆ

อ้อย เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความต้องการของตลาดจำนวนมาก เกษตรกรไทยจึงได้สรรหาแนวทางในการปรับปรุงระบบการเพาะปลูก และเทคโนโลยีเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตให้ดียิ่งขึ้น โดยเทคโนโลยีที่ถูกจับตามองอย่างมากคือการใช้ดาวเทียม อากาศยานไร้คนขับหรือโดรน แพลตฟอร์มและแอปพลิเคชันต่อเนื่องถึงเทคโนโลยี AI เพื่อทำการวิเคราะห์และคาดเดาปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการเพาะปลูกและการเก็บเกี่ยวผลผลิต ซึ่งประเด็นดังกล่าวยังสอดคล้องกับนโยบายการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนในการปั้นสตาร์ทอัพ (AgTech Startup) และเทคโนโลยีเชิงลึก (DeepTech: ดีพเทค) ด้านการเกษตร โดยนับเป็นมิติใหม่ที่จะช่วยสร้างมูลค่า ความเชื่อมั่นให้กับกับอุตสาหกรรมการเกษตรไทยให้ดียิ่งขึ้นในอนาคต

Varuna Land Monitoring Platform (VLMP) (สำหรับอ้อย) 

Varuna Land Monitoring Platform (VLMP) คือแพลตฟอร์มติดตามการเจริญเติบโตและคาดการณ์ปริมาณผลผลิตอ้อยแบบ Automate Processing ครบวงจร โดยใช้เทคโนโลยีการสำรวจจากระยะไกลจากดาวเทียม ร่วมกับเทคโนโลยี AI และ Machine Learning เพื่อสนับสนุนการเพาะปลูกพืชให้มีประสิทธิ์ภาพสูงสุดตั้งแต่เริ่มฤดูกาล วิเคราะห์ความชื้นในดิน วันที่เริ่มเพาะปลูก ติดตามการเจริญเติบโต วิเคราะห์สุขภาพพืช วิเคราะห์คาดการณ์วันที่จะเก็บเกี่ยว พื้นที่เก็บเกี่ยว รวมถึงคาดการณ์ปริมาณผลผลิตตามฤดูกาลของพืชไม่ว่าจะเป็น อ้อย มันสำปะหลัง ข้าว และพืชอื่นๆ ได้อีกมากมายในอนาคต

 

VLMP มีระบบวิเคราะห์ดัชนีพืชพรรณหลากหลาย ที่ได้มาจากการวิเคราะห์ภาพถ่ายจากดาวเทียม เพื่อช่วยให้การวิเคราะห์การเจริญเติบโตของพืชมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ดัชนีพืชพรรณ NDVI

NDVI ที่สามารถใช้ในการติดตามสุขภาพและตรวจสอบความสมบูรณ์ของพืชในทุกช่วงระยะการเติบโต โดยเฉพาะการใช้งานในเชิงอนุกรมเวลาอย่าง NDVI Time Series อีกทั้งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการศึกษาชีพลักษณ์ (Phenology) ของพืชแต่ละชนิด เช่น ชีพลักษณ์จากดัชนี NDVI ของข้าวตลอดช่วงอายุการเจริญเติบโต เป็นต้น นอกจากนี้ในด้านของสิ่งแวดล้อม ดัชนี NDVI ยังสามารถนำมาใช้ในการติดตามความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่สีเขียวได้แม่นยำเช่นกัน

ดัชนีวิเคราะห์ความชื้นในพืช NDWI

เป็นดัชนีที่สามารถบ่งบอกถึงปริมาณการดูดซับน้ำของพืช ซึ่งนำไปใช้ในการวิเคราะห์เกี่ยวกับสภาวะขาดน้ำของพืชได้ (Crop Water Stress) นอกจากนี้ยังสามารถบ่งบอกถึงความแตกต่างของความชื้น ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยเพื่อการประเมินความเสี่ยงของภัยแล้ง สำหรับการประยุกต์ใช้ในด้านสิ่งแวดล้อม ดัชนี NDWI สามารถบ่งบอกถึงบริเวณที่เป็นแหล่งน้ำหรือมีพืชพรรณได้

ดัชนีวิเคราะห์ความชื้นและการสะท้อนของดิน SAVI

คือดัชนีที่สามารถบ่งบอกถึงความชื้นในดินจากการสะท้อนคลื่นของพื้นผิวหน้าดิน ซึ่งถูกนำไปใช้ในการวิเคราะห์ร่วมกับดัชนีพืชพรรณ เพื่อบ่งบอกถึงกิจกรรมการตัดหรือเก็บเกี่ยวผลผลิตพืชไร่ สามารถคาดการณ์ผลผลิตได้ในทุก 10 วัน

ดัชนีความชื้นจากดาวเทียม SMAP

สามารถบ่งบอกถึงค่าความชื้นบนผิวดินนำมาใช้ในการติดตามปริมาณการให้น้ำแก่พืชผลทางการเกษตรซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโต อีกทั้งยังใช้ในการติดตามสถานการณ์ภัยธรรมชาติต่างๆ เช่น สถานการณ์อุทกภัย หรือภัยแล้ง เป็นต้น

นอกจากนั้น ผู้ใช้งานยังสามารถติดตามศักยภาพการผลิตพืชได้ในระดับรายแปลงไปจนถึงพื้นที่ทั้งหมดของการเพาะปลูกพืช โดย VLMP มีระบบการจัดลำดับแสดงคุณภาพของพืช รวมถึงระบุจำนวนพื้นที่เพาะปลูกและคาดการณ์ผลผลิต เพื่อให้ผู้ใช้งานมองเห็นภาพรวมของการเพาะปลูกพืช รวมถึงติดตาม แก้ไขปรับปรุงได้ในระดับรายแปลง และสามารถพบความผิดปกติภายในแปลงนั้นๆ 

สำหรับ VLMP เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ของ Varuna Land Monitoring Service (VLMS) บริการประมวลผลดาต้าจากภาพถ่ายดาวเทียมความละเอียดสูงขนาด 10x10 และ 20x20 เมตร สำหรับอุตสาหกรรมเกษตร การสำรวจประเมินทรัพยากรธรรมชาติและการวิเคราะห์ดาต้าในรูปแบบต่างๆ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจเชิงธุรกิจ

จุดเด่นของ Varuna Land Monitoring Service

  • ข้อมูลต่อเนื่อง 30 วัน เเละย้อนหลังถึง 5 ปี
  • ข้อมูลประมวลผลแบบปราศจากเมฆ
  • ภาพถ่ายดาวเทียมความละเอียดสูงขนาด 10x10 เมตร เเละ 20x20 เมตร
  • ข้อมูลทั้งประเทศแบบรายเดือน
  • แสดงผลข้อมูลราย Pixel พร้อมใช้ร่วมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ Geographic Information System (GIS) ได้สะดวก

แพลตฟอร์ม VLMP ของ Varuna จะติดตามสุขภาพและคาดการณ์ปริมาณผลผลิตอ้อย ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกของภาคเกษตรกรรมไทยให้ดีขึ้น และเป็นเทคโนโลยีที่ตอบสนองความต้องการด้านอาหารของโลกที่เพิ่มขึ้น สร้างความมั่นคงทางอาหารให้เกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างแน่นอน